เที่ยวเชียงตุง เสน่ห์ดินแดนชวนประทับใจที่เมียนมา

 เที่ยวเชียงตุง ประเทศเมียนมา อีกหนึ่งเมืองที่มีเสน่ห์ วิถีชีวิตชาวบ้านที่เรียบง่าย รวมถึงศาสนสถานสำคัญ ๆ อีกหนึ่งจุดเช็กอินที่เที่ยวต่างประเทศดี ๆ แถมอยู่ไม่ไกลจากไทย
เที่ยวเชียงตุง
          เชียงตุง เป็นจังหวัดหนึ่งในรัฐฉาน ประเทศเมียนมา บ้านพี่เมืองน้องติดชายแดนไทย ตรงข้ามกับอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ทั้งยังเป็นจังหวัดเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์มายาวนานร่วม 700 ปี หากแต่เชียงตุงในวันนี้ กลับมีสีสันของการท่องเที่ยวเข้ามาแต่งแต้ม ซึ่งเป็นสิ่งสะท้อนสัญญาณเชิงบวกให้การท่องเที่ยวตามแนวชายแดนไทย-เมียนมา หลังจากที่พม่าปิดประเทศมายาวนาน และวันนี้เราจะพาเพื่อน ๆ ไปทำความรู้จัก "เชียงตุง" ให้ดีขึ้นกัน บอกเลยว่าที่นี่มีความน่าสนใจซ่อนอยู่อีกเพียบ

1. เมืองเชียงตุง อยู่ที่ไหน

เที่ยวเชียงตุง

เที่ยวเชียงตุง
          เชียงตุง เป็นหนึ่งในจังหวัดสำคัญในรัฐฉาน ทางฝั่งตะวันออกของประเทศเมียนมา และอยู่ห่างจากชายแดนไทยด่านแม่สาย-ท่าขี้เหล็ก ประชากรของชาวเชียงตุงส่วนใหญ่เป็นชาวไต หรือ ชาวไท มีชาวเมียนมาอาศัยอยู่บ้าง แต่ก็ไม่จำนวนไม่มาก ภูมิประเทศส่วนใหญ่ของเมืองเชียงตุงล้อมรอบด้วยภูเขาเสียเป็นส่วนใหญ่ มีที่ราบค่อนข้างน้อย หากสังเกตภูมิทัศน์สองข้าทาง จะเห็นเลยว่าชาวบ้านจะทำการเกษตรแบบขั้นบันไดไปตลอดเส้นทาง บ้านเรือนริมทางส่วนใหญ่สร้างขึ้นด้วยไม้ไผ่หลังคามุงด้วยหญ้าคา ท่ามกลางวิถีชีวิตเรียบง่ายของชาวเชียงตุง

2. แผนที่เชียงตุง

เที่ยวเชียงตุง
          เชียงตุงได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่ง "3 จอม 7 เชียง 9 หนอง 12 ประตู" มีความหมายถึงภูเขา 3 ลูกที่โอบล้อมเมืองเชียงตุงไว้ มีชุมชนดั้งเดิมชาวไทเขินที่ขึ้นต้นด้วยเชียงอยู่ 7 เชียง มีหนองน้ำหล่อเลี้ยงให้ความอุดมสมบูรณ์อยู่ 7 หนอง (ปัจจุบันเหลือแค่ 1 หนอง คือหนองตุง) และมีประตูเมืองทั้งหมด 12 ประตู (ปัจจุบันเหลือเพียงประตูป่าแดงที่ยังคงสภาพสมบูรณ์)

3. ประวัติเมืองเชียงตุง

เที่ยวเชียงตุง

ภาพจาก Nukul Chanada / shutterstock.com
          ประวัติศาสตร์ในช่วงแรกของเชียงตุงยังไม่มีความแน่ชัด โดยปรากฏหลักฐานพงศาวดารเมือง เมื่อพ.ศ. 1772 พญามังรายได้เสด็จประพาสป่า และทรงไล่กวางทองมาจนถึงเมืองเชียงตุง และทรงเล็งเห็นว่าเมืองนี้มีชัยภูมิที่ดี จึงยกกองทัพมายึดเมืองเชียงตุง และส่ง "เจ้าน้ำท่วม" ผู้เป็นราชบุตรมาปกครอง โดยขึ้นกับอาณาจักรล้านนา ก่อนที่จะกลายเป็นเมืองประเทศราชของเมียนมาในสมัยพระเจ้าบุเรงนอง และกลายเป็นอาณานิคมของอังกฤษไปกับพร้อมกัน

          ครั้งหนึ่ง…เมืองเชียงตุงเคยเป็นจังหวัดหนึ่งของไทย ตรงกับสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุคจอมพล ป. พิบูลสงคราม ดำรงเป็นนายกรัฐมนตรี โดยกองทัพไทยได้ยกพลเข้ามายึดเมืองเชียงตุงจากอังกฤษ แล้วประกาศให้เป็นจังหวัดหนึ่งของไทยในชื่อ "แคว้นสหรัฐไทยเดิม" โดยไทยปกครองเชียงตุงได้อยู่เพียง 3 ปี ไทยก็ต้องคืนเชียงตุงให้กับอังกฤษ ในฐานะฝ่ายชนะสงคราม และรวมดินแดนเชียงตุงเป็นส่วนหนึ่งหนึ่งของเมียนมา และเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้เอง  หลังจากที่เมียนมาเปิดประเทศ ก็ทำให้เมืองเชียงตุงเป็นที่รู้จักแก่สายตานักท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น และทำให้เรารู้เลยว่า…กาลเวลา ไม่อาจทำลายเอกลักษณ์ความเป็นเชียงตุงไปได้เลย

4. สถานที่ท่องเที่ยวเชียงตุง

เที่ยวเชียงตุง

เที่ยวเชียงตุง

          เชียงตุง ได้รับสมญานามว่าเป็นเมืองร้อยวัด เฉพาะแค่ในตัวเมืองก็มีวัดอยู่เกือบ 40 วัด แต่ละวัดมีความงดงามทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมที่แตกต่างกัน หากแต่มีลักษณะเด่นอยู่ที่การผสมผสานศิลปะล้านนา ไทรัฐฉาน และพม่าเข้าไว้ด้วยกัน ได้แก่ "วัดมหาเมี๊ยะมุนี" วัดสำคัญตั้งอยู่กลางเมืองเชียงตุง, "วัดพระเจ้าหลวง" ประดิษฐานพระพุทธรูป หล่อด้วยโลหะผสมทองคำ, "วัดพระแก้ว" ประดิษฐานพระแก้วมรกต และเปิดให้เข้านมัสการเฉพาะวันสำคัญทางศาสนา "วัดพระธาตุจอมคำ" พระเจดีย์เคี้ยวแก้วที่เป็นที่เคารพนับถือของชาวเชียงตุงมาเป็นเวลาช้านาน, "วัดอินทร์วิหาร" บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์อยู่ด้านหลังองค์ประธาน และ "พระชี้นิ้ว" สัญลักษณ์สำคัญแห่งเมืองเชียงตุง เป็นต้น

เที่ยวเชียงตุง

ภาพจาก ronemmons / shutterstock.com

เที่ยวเชียงตุงเที่ยวเชียงตุง
          นอกจากวัดจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของเชียงตุงแล้ว เชียงตุงยังมีสถานที่ท่องเที่ยวอื่น ๆ ที่น่าสนใจอยู่อีกเป็นจำนวนไม่น้อย เช่น "หนองตุง" หนองน้ำขนาดใหญ่ ที่อยู่คู่กับเชียงตุงมาช้านาน, "กาดเชียงตุง" ตลาดที่ใหญ่ที่สุดของเชียงตุง, "สถูปเจ้าฟ้า" เป็นที่บรรจุอัฐิของเจ้าก้อนแก้วอินแถลง และเจ้าฟ้าเชียงตุงอีกหลายพระองค์ เป็นต้น

5. เที่ยวเชียงตุง เมืองลา

          เมืองลา เป็นเขตปกครองพิเศษที่ 4 ของเมียนมา ปกครองแบบเผด็จการทหาร แบ่งการปกครองทั้งหมด 7 รัฐ 7 มณฑล 4 เขตปกครองพิเศษ หากแต่ที่เมืองลาเป็นเขตพิเศษกว่าเขตอื่น ๆ ตรงที่ไม่ทีทหารและตำรวจของเมียนมา และใช้กฎระเบียบของเมืองลาโดยตรง

          จุดเช็กอินท่องเที่ยวหลัก ๆ ของเมืองลา ส่วนใหญ่จะเป็นการเที่ยวชมวัด ที่งดงามตามแบบศิลปะไทใหญ่ เช่น "พระธาตุจินตะ" เจดีย์สำคัญที่สร้างขึ้นหลังจากที่เมียนมาประกาศให้เมืองลาเป็นเขตปกครองพิเศษ ด้านบนสามารถชมวิวสวย ๆ ของเมืองลาและฝั่งประเทศจีน นอกจากนี้ยังมีตลาดโต้รุ่ง, สถานบันเทิง และโรงแรมหรู ไว้คอยบริการนักท่องเที่ยวอีกด้วย

6. ที่พักเชียงตุง

          ที่พักเมืองเชียงตุงมีให้เลือกหลากหลายแบบ ไล่เรียงตั้งแต่โรงแรมไปจนถึงเกสต์เฮ้าส์ แต่ละแห่งมีจุดเด่นแตกต่างกันทั้งในเรื่องของทำเลที่ตั้งและสิ่งอำนวยความสะดวก บางแห่งใกล้ตลาดเช้า บางแห่งก็สะดวกสบายในเรื่องของ Wi-Fi

          - Amazing Kengtong Resort โทรศัพท์ (+95 84) 21620, (+95 84) 21621 หรือเฟซบุ๊ก Amazing Kengtong Resort หรือเว็บไซต์ amazingkyaingtongresort.com

          - Naung Tong Hotel โทรศัพท์ +95 84 21781 เฟซบุ๊ก Naung Tong Hotel หรือเว็บไซต์ nawngtunghotelgroup.com

          - Hotel Khemarattha โทรศัพท์ +95 84 22691 เฟซบุ๊ก Keng Tung - Hotel Khema Rattha

          - Golden World Hotel โทรศัพท์ +95 84 21545 เฟซบุ๊ก Golden World Hotel Kyainge Tung - โรงแรมโกลเด้นท์เวิร์ลเชียงตุง

          - Harry's Trekking House โทรศัพท์ +95 84 21418, +95 95 25-1274, +66 88 143 0622 หรือเฟซบุ๊ก Harry's Trekking House & Adventures Tours Kyaing Tong เชียงตุง

7. เชียงตุง ไปยังไง

เที่ยวเชียงตุง

ภาพจาก anandoart / shutterstock.com
          - ในกรณีนักท่องเที่ยวมีหนังสือเดินทาง (Passport)

          นักท่องเที่ยวต้องทำวีซ่าที่สถานทูตพม่าที่กรุงเทพฯ สามารถเที่ยวในพม่าอยู่ได้ประมาณ 1 เดือน การมาเที่ยวยังเชียงตุงหากเป็นการบินเข้าจากเมืองอื่น ๆ ของพม่าสามารถเข้าและออกได้ตามปกติ ไม่จำเป็นต้องจ้างไกด์

          - ในกรณีไม่ใช้หนังสือเดินทาง (Passport)

          นักท่องเที่ยวใช้บัตรประจำตัวประชาชนทำบัตร (ทางด่านอำเภอแม่สาย) ผ่านไปเที่ยวพม่า ซึ่งสามารถพักได้ 6 วัน (แต่ต้องแจ้งด้วยว่าจะค้างคืนในเมียนมา) โดยจะทำหนังสือผ่านทางไปเชียงตุง โดยทางการเมียนมาบังคับให้จ้างไกด์ไปด้วย

8. บริการทัวร์ เชียงตุง

เที่ยวเชียงตุง

https://travel.kapook.com/view194217.html

Comments

Popular posts from this blog

Training Course Overseas Dhammduta Bhikkhus Class 23/2560 at Vaishali

BUDDHISM IN MYANMAR